สายตายาวในผู้สูงอายุ และ วิธีการรับมือแบบมีความสุข

สายตายาวในผู้สูงอายุ

สายตายาวตามอายุ เป็นปัญหาที่จะต้องเจอในคนทุกๆคน ส่วนใหญ่จะเริ่มมีอาการเมื่ออายุมากกว่า 40ปีขึ้นไปปัญหาสายตายาวตามอายุเกิดจากความสามารถในการเพ่งของตาที่ลดลง

สายตายาวในผู้สูงอายุ (Presbyopia)

ปกติแล้วสายตายาวจะแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ 1.สายตายาวโดยกำเนิด และ สายตายาวตอนสูงอายุ สำหรับ สายตายาวของผู้สูงอายุนั้นเกิดกจากระบบระบบการทำงานของสายตาลดลง จนทำให้ไม่สามารถมองระยะใกล้ได้ ส่วนระยะไกลก็ยังเห็นได้อย่างชัดเจน

ตาของเราจะมีความสามารถในการเพ่งทำให้เราสามารถมองเห็นได้ชัดทั้งในระยะไกลและระยะใกล้ เมื่อความสามารถในการเพ่งลดลง จะทำให้เรามองสิ่งของที่อยู่ใกล้ๆ เช่น อ่านหนังสือ ลำบากมากขึ้น

อาการของภาวะสายตายาวตามอายุ คือ มองไม่ชัดโดยเฉพาะในระยะใกล้ๆ ต้องยื่นมือออกไปไกลๆ เวลาอ่านหนังสือปวดกระบอกตา ปวดหัวคิ้ว รู้สึกสายตาล้า

แต่จริงๆ แล้วผู้สูงอายุที่ปัญหาสายตานั้น อาจฟังดูน่าหดหู่ว่า มันมาจากอายุ แต่บางคนอายุ 60-70 แล้วสายตาก็ยังดีอยู่เลย จักษุแพทย์บางท่านก็ให้ความเห็นว่าจริงแล้ว เราสามารถช่วยให้ปัญหานี้ดีขึ้นได้ โดย การให้ดวงตาได้รับสารอาหารให้ครบและดีต่อดวงตา ซึ่ง สารอาหารที่ว่ามาคือ “ออกซิเจน” นั้นเอง

การแก้ไขปัญหาสายตายาวตามอายุ

ทำได้โดยการใส่แว่นอ่านหนังสือ ลักษณะของแว่นอ่านหนังสือมีหลายแบบ

  • บางคนอาจใช้แว่นสำหรับอ่านหนังสือโดยเฉพาะใส่เฉพาะเวลาต้องการมองอะไรใกล้ๆ เมื่อจะมองไกลก็ถอด 
  • บางคนอาจใช้แว่นตาที่ประกอบด้วยเลนส์สองส่วน Bifocals ที่มีส่วนสำหรับมองไกลและมองใกล้ แลนส์ชนิดนี้อาจประกอบด้วยเลนส์สองส่วนแยกกัน หรือ อาจเป็นเลนส์ที่ฝนให้ไม่มีรอยต่อระหว่างทั้งสองส่วน Progressive lens

การเลือกใช้เลนส์แว่นเหล่านี้ขึ้นกับความชอบและความถนัดของแต่ละคน ค่าสายตายาวมักจะเพิ่มขึ้นช้าๆ เมื่ออายุมากขึ้น ทำให้อาจจะต้องมีการเปลี่ยนกำลังของแว่นเป็นระยะๆ

วิธีอื่นๆ นอกจากใส่แว่นแล้ว ก็ใช้การใส่คอนแทคเลนส์ หรือ การผ่านตัดแก้ไขสายตา แน่นอน การผ่าตัดอาจมีค่าใช้จ่ายที่สูง และ มีระยะพักฟืนอีกด้วย ก็ขึ้นอยู่กับกำลังของแต่ละคนว่า สะดวกแบบไหน แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะใส่แว่นเท่านั้นเอง

ปัญหาสายตายาวในผู้สูงวัยตอนนี้อาจจะเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตในอดีต รวมทั้ง สภาพแวดล้อม สภาพอากาศต่างๆ ขาดการดูแลตัวเอง ทำให้ปัญหาดวงตาเกิดขึ้น รวมทั้ง ปัญหาอย่าง ต้อตาต่างๆ วุ้นตาเสื่อม จอประสาทตาเสื่อม ที่มีโอกาสเกิดขึ้นอยู่แล้ว วิธีการดูแลและรับมือ คือ การดูแลตัวเองให้มากขึ้น ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ สวมแว่นกันแดดเวลาออกแดด และ ทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อดวงตา เป็นการปกป้องดวงตาให้อยู่กับเราไปนานๆ

แหล่งข้อมูล

  • หนังสือ คู่มือ ตา สามัญประจำบ้าน : ผู้เขียน นพ.เชาร์ เจริญขจร จักษุแพทย์
  • Presbyopia : https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/presbyopia/symptoms-causes/syc-20363328

แนะนำอาหารเสริมฟื้นฟูดวงตาจากงานวิจัย Herbitia Lutein

ที่มีสารสกัดเข้มข้นจากอิตาลี