ความเครียดจากการทำงาน สาเหตุอันดับต้นๆ ของ ภาวะซึมเศร้า

ความเครียดจากการทำงาน

คนวัยทำงานอายุ 30-40 ต่างมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบในชีวิต ครอบครัว มากขึ้น เป็นวัยที่ต้องการสร้างความมั่นคงในชีวิตเหมือนเป็นสร้างรากฐานให้แข็งแรง ซึ่งต้องแลกมากับการทำงานที่หนักขึ้น กดดันมากขึ้น ทำให้พลาดกับการทำงานไม่ได้ จึงเกิดเป็น ความเครียดจากการทำงาน หากรู้ตัวช้าการอาจเป็นสาเหตุของ ภาวะซึมเศร้า อาจจะส่งผลต่อการฆ่าตัวตายได้

ความเครียดจากการทำงาน คืออะไร

ความเครียดที่เกิดจากการทำงาน ที่มีผลเสียต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ อาจจะมาจากหลายสาเหตุ เช่น งานอาจจะไม่เหมาะกับคนทำงานที่มีทักษะคนละแบบจนเกิดเป็นความกดดันที่จะทำงานได้ไม่ดีพอ พองานออกมาไม่มีดีก็อาจจะส่งผลต่อรายได้ โบนัส ตำแหน่ง หรือ เจอเพื่อนร่วมงาน หัวหน้า ที่ส่งผลต่อความกดดันต่างๆ มากมายในตลอดการทำงาน หรือ แม้แต่งานที่ได้รับมอบหมายมีประมาณมากเกิดไปจนไม่สามารถทำทันตามเวลา ทำให้ต้องขยายเวลาการทำงานมากขึ้นไม่มีเวลาพักผ่อน บางอาชีพต้องคุยกับคนอื่นๆ เยอะทำให้เกิดความกดดันภายในใจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นของความเครียด หากงานสำเสร็จก็ส่งผลให้มีความสุข แต่ถ้าไม่สำเร็จก็อาจเป็นความเครียดสะสมไม่รู้ตัว โดยเฉพาะยิ่งคนไม่รู้จักวิธีการคล้ายเครียดด้วย ก็ยิ่งทำให้สุขภาพจิตยิ่งแย่ลงไปอีก โอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้าก็จะมีมากขึ้นตามไปด้วย

สถิติ และ วิจัย ความเครียดจากการทำงาน

กรมสุขภาพจิต ได้เปิดเผยว่าคนทำงานในกรุงเทพ ร้อยละ 45% โดนความเครียดขโมยความสุขไป จากผลสำรวจ คนกรุงเทพ 2,261 คน อายุ 15-60 ปี ให้ข้อมูลในแบบสำรวจว่าประเมินความสุขเพียง 45% ซึ่งสาเหตุอันดับ 1 มาจาก เศรษฐกิจ , สังคม , ครอบครัว

ที่มา : https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=28253

สถาบันวิจัยในอเมริกาพบว่า 40% ของวัยรุ่นที่ทำงานในอเมริกามีความเครียดถึง 25% ซึ่งก็จะมีความเครียดเพิ่มมากขึ้นไปเรื่อยๆ

ที่มา : http://medicine.swu.ac.th/msmc/?p=1855

ความเครียด กับ ประสิทธิภาพจากการทำงาน

ยิ่งเครียดมาก ยิ่งทำให้งานแย่ลง เมื่อมีความเครียดงานที่ทำอยู่จะได้รับผลกระทบไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง เพราะความเครียดนั้นจะส่งผลต่อจิตใจ ร่างกาย จนไปถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ทำให้อาจเกิดปัญหากับความสัมพันธ์ในที่ทำงาน หรือ แม้แต่สิ่งที่ตัวเองกำลังรับผิดชอบอยู่ อย่างที่รู้กันอยู่แล้วความเครียดนั้นจะทำให้ร่างกายเป็นโรคต่างๆ ทั้งหลอดเลือด กระเพาะ ไมเกรน อื่นๆ ซึ่งพอสุขภาพเริ่มไม่ดี ส่งผลให้สื่อสารกับคนอื่นๆ ไม่รู้เรื่อง ทำงานงานออกมามีปัญหาได้นั้นเอง

ระดับความเครียดจากการทำงาน

ระดับต้น

มีความรู้สึกเซ็ง เบื่อกับงาน อ่อนล้าง่าย ขี้เกียจทำงาน อาจจะเป็นช่วงหมดไฟ ความเครียดระดับนี้อาจจะต้องหาแรงกระตุ้นในการทำงาน จุดไฟในตัวเองอีกครั้ง หรือ หาทางไปพักผ่อนปล่อยวางงานที่ได้รับ อาจจะไปเที่ยวทะเล ภูเขา อยู่กับคนที่รัก ครอบครัว สัตว์เลี้ยง หรือ หาเพื่อนคุยสักคนที่ให้คุณระบายสิ่งต่างๆ ได้ ความเครียดระดับนี้ถือว่าแก้ง่ายที่สุด

ระดับกลาง

นอนไม่หลับ ปวดหัวบ่อย แยกตัวออกมาอยู่คนเดียวบ่อยๆ ความเครียดนี้จะมีความเข้มข้นขึ้น ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ถ้างานที่ได้รับสำเร็จก็มีความสุข ถ้างานไม่สำเร็จก็จะส่งผลต่อจิตใจร่างกายกับช่วงเวลาที่ผ่านมา ดังนั้น หากอยู่ในระดับนี้ อาจจะต้องแบ่งเวลามาเพื่อ ออกกำลังกาย ปรับวิธีคิดในการทำงานเพื่อไม่ให้เครียดมาก ก็จะช่วยให้ความเครียดนั้นลดลงได้

ระดับสูง

พฤติกรรมเปลี่ยนไป สูบบุหรี่มากขึ้น ดื่มสุรามากขึ้น ส่งผลให้ไร้ซึ่งพลังใดๆ ในการทำงาน มีการร้องไห้คนเดียวบ่อยๆ ไม่เข้าใจความรู้สึกตัวเอง กินไม่ได้ นอนไม่หลับ สับสนไปหมด สมาธิในการทำงานไม่มี แยกตัวออกจากสังคม ครอบครัว ควบคุมตัวเองไม่ได้ ด่าท่อ ทำร้ายร่างกายผู้อื่น ซึ่งหากใครมีลักษณะดั่งกล่าวอาจจะเสี่ยงอยู่ในภาวะซึมเศร้า ซึ่งแนะนำให้รีบพบจิตแพทย์โดยด่วน เพื่อที่จะได้แก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสภาวะจิตใจได้เร็วขึ้น ก่อนเกินเรื่องร้ายแรงอื่นๆ ตามมา

วิธีลดความเครียดจากการทำงาน

1.จัดลำดับความสำคัญของงาน เป็นวิธีเริ่มต้นในการแก้ไขปัญหาที่ยุ่งกับงานได้ดีระดับหนึ่ง เพียงใช้เวลาก่อนเริ่มทำงานสัก 5 นาทีดูว่า วันนี้มีกี่งาน แล้วเรื่องงานที่สำคัญมาทำก่อนเป็นอันดับแรกๆ หรือ ทำลิสต์ในการทำงานติด post-it ว่ามีกี่งานที่ต้องทำ หรือ สำคัญในวันนี้บ้าง ก็จะช่วยให้คุณลำดับเวลาได้ดีขึ้น ไม่วุ่นวายจนจิตใจวุ่นวาย

2.วางแผนการทำงาน ลองดูว่างานไหนส่งผลมากที่สุด เพื่อที่จะได้ทุ่มเทเวลาไปจัดการงานนั้นให้เรียบร้อยโดยเร็ว ให้มีเวลาทำงานส่วนอื่นที่ยังค้างคา หรือ การซอยงานเป็นงานย่อยๆ เพื่อที่จะทำงานเสร็จในทุกวัน จากงานใหญ่ที่ได้รับมา

3.ปรึกษาหัวหน้าหรือทีมงาน หากรู้ว่างานที่ได้รับมาไม่ถนัด ไม่เชี่ยวชาญ หรือ งานมากเกินไป ลองใช้วิธีเจรจาต่อรองกับหัวหน้าหรือทีมงาน เพื่อที่จะได้ช่วยกันแก้ ให้คุณไม่ต้องแบกรับภาระที่มากเกิดไปในการทำงาน ซึ่งการต่อรองนี้ออกมาได้หลายแบบ คือ ได้สิ่งที่ขอทั้งหมด ได้บางสิ่งที่ขอ และ ไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลง ได้ผลอย่างไรก็ต้องพิจารณาตัวเองดูว่า สิ่งที่ขอนั้นสมเหตุสมผลหรือไม่ หรือ บางทีคุณเองอาจจะไม่เหมาะกับที่ทำงานนั้นรึเปล่า

4.เลือกที่จะตัดบางงานออก หรือ ส่งงานให้คนอื่นทำแทน งานที่ได้รับจะมีส่วนที่ต้องทำ และ บางส่วนที่ไม่จำเป็นต้องทำเอง ดังนั้น ลองคิดว่าตัวเองอยู่ในตำแหน่งไหน มีทรัพยากรในการทำงานพอไหม จากนั้น ก็ตัดบางงานที่ไม่ได้ส่งผลต่อเป้าหมาย ให้คนอื่นช่วยทำบ้าง ก็จะทำให้งานเสร็จไวขึ้น ผลประโยชน์ก็จะอยู่กับทีมงาน คุณก็ไม่มีเสียสุขภาพกายและใจ

5.พูดคุยกับทีมงานบ่อยๆ เพื่อที่จะได้รู้ใครทำอะไรอยู่บ้าง มีปัญหาอยู่ตรงไหน จะได้ช่วยกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ ให้ความเครียดของทุกคนลดลง เมื่อความเครียดในทีมมีน้อยลงก็จะทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เสร็จได้เร็วขึ้น

6.บางช่วงเวลาอาจจะต้องทำงานหนัก เพื่อที่จะทำให้งานนั้น หรือ เป้าหมายนั้นสำเร็จได้อย่างที่ต้องใจไว้ ซึ่งต้องใช้ทั้งแรงกาย แรงใจมหาศาล รวมทั้งความเชื่อมั่นในทีมงาน ผลักดันจนสำเร็จ แน่นอนมันจะกระทบกับชีวิตสุขภาพจิตใจ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับคุณพร้อมที่จะแบกรับความเครียดในช่วงเวลาหนึ่งได้หรือไม่

7.ไม่ใช่ทุกที่ ไม่ใช่ทุกงาน ที่เหมาะกับคุณ พิจารณางานให้ดีว่า ระหว่างงาน รายได้ กับความเครียดที่ได้รับนั้นเหมาะสมคุ้มค่ากันหรือไม่ บางทีงานดี แต่เพื่อร่วมงานไม่ดี ก็ทำให้เครียดมีมากขึ้น บางทีงานไม่ดีแต่เพื่อนดี ก็ทำให้คุณมีรายได้เลี้ยงชีพได้ ลองดูความคุ้มค่าของความเครียดที่เสียไปกับการทำงานให้ดี

วิธีจากการความเครียดภายในใจ

1.ออกกำลังกายจะช่วยหลั่งสารเคมีความสุขออกจากสมอง ทำให้ใจจิตดีขึ้นได้ นอกจากนั้นร่างกายแข็งแรงทำให้มีพลังงานพร้อมใช้งานตลอดทั้งวัน

2.ฝึกสมาธิวันละ 15 นาที เพื่อกลับมาโฟกัสตัวเอง ความเครียดจะลดลง ทำให้มีสติในการใช้ชีวิตมากขึ้น สมองทำงานได้ดีขึ้นได้

3.เปลี่ยนบรรยากาศในการทำงาน จะช่วยให้สมองแล่นมากขึ้น คิดงานต่างๆ ได้ดีขึ้น อาจจะไปทะเล ร้านกาแฟ เพียงเท่านี้ความเครียดก็จะลดลงอย่างไม่น่าเชื่อ

4.ฝึกสติอยู่กับปัจจุบัน ให้รับรู้อารมณ์ว่า โกรธอยู่ มีความสุขอยู่ หิวอยู่ ง่วงอยู่ เครียดอยู่ การใช้มีสติรับรู้จะทำให้เข้าใจตัวเอง และ ดึงตัวเองออกจากภาวะ หรือ อารมณ์นั้นให้ได้

5.พักผ่อน ดูหนัง ฟังเพลง เล่นดนตรี เล่นกับสัตว์เลี้ยง ในวันหยุด หรือ หลังเลิกงาน ก็ช่วยให้ลดความเครียดได้อย่างมากเลยทีเดียว

6.ฟังชุดความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับกับลดความเครียด การเพิ่มความสุข แล้วลองนำวิธีคิดเหล่านั้นมาปรับ มาเพิ่มในชีวิต ก็จะได้เห็นมุมมองอื่นๆ บ้าง บางทีทุกอย่างไม่ได้เปลี่ยน งานก็ยังทำเหมือนเดิม แต่มุมมองเปลี่ยน ความเครียดที่เคยมีอาจจะหายไปก็ได้

7.ปัญหาและความทุกข์ต่างๆ เป็นสิ่งที่ต้องจออยู่แล้ว สิ่งที่ทำได้คือรับรู้ว่านั้นคือปัญหาแล้วพยายามหาทางแก้ จากนั้นพิจารณานั้นว่าต้นต่อของปัญหาคืออะไร ค่อยๆ แก้ไปจากตรงนั้น ตอนนี้แก้ปัญหาความเครียดอาจจะมีบ้าง แต่ถ้าพิจารณาแล้วว่า แก้ไม่ได้ นั้นไม่ใช่ปัญหา ก็ไม่จำเป็นเครียด ให้เอาเวลาไปทำอย่างอื่นก่อน

8.ตั้งเป้าหมายไว้เพื่อที่จะได้รู้ว่าตอนนี้อยู่ตรงไหนแล้ว เพราะว่าการที่เราโฟกัสเรื่องที่สำคัญให้ถึงเป้าหมาย อาจจะดีกว่าไม่รู้ว่าเรากำลังพุ่งไปในทิศทางไหน ความเครียดที่ได้รับอย่างน้อยก็รู้ เครียดไปเพื่ออะไร

9.ปัญหาของคนอื่น บางทีคุณเปลี่ยนมันไม่ได้ ก็ไม่ควรเครียดกับปัญหานั้น ลองเอาเวลามาพิจารณากับปัญหาที่แก้ได้ดีกว่า แก้ที่มุมมองได้ไหม ให้คนอื่นมาช่วยแก้ได้ไหม หรือ สุดท้ายคุณต้องแก้ด้วยการเอาตัวเองออกจากตรงนั้น

10.ทานอาหารช่วยลดความเครียด ของหวานต่างๆ เป็นการช่วยลดความเครียดได้อย่างไม่น่าเชื่อ หรือ การทานอาหารเสริมที่มีส่วนช่วยลดความเครียด ให้นอนหลับได้ดีขึ้น ลดอาการไมเกรน ก็จะช่วยให้สุขภาพดีขึ้นได้ มีงานวิจัยบอกว่า หากคุณนอนเต็มอิ่มจะส่งผลต่อสมองทั้งเรื่องความจำและประสิทธิภาพการทำงานของสมองให้ทำงานได้ดีขึ้นอีกด้วย

Panu Shop